ค้นหา

29 ก.ย. 2554

พริก


          พริก เป็นพืชในตระกูล Solanaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens L. ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli มาจากคำภาษาสเปน ว่า chile โดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน

ชนิดของพริก
พริกมีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง ประเทศไทยนั้นมักนิยมปลูกพริกอยู่ 2 ชนิดซึ่งได้แก่
1.พริกหวาน พริกหยวก พริกชี้ฟ้า (ในกลุ่ม C. annuum)
2.พริกเผ็ดได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ (ในกลุ่ม C. furtescens)

สรรพคุณ
      พริกมีวิตามินซี สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย (tissue) สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 - 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า - แคโรทีนหรือวิตามินเอ สูง (พริกขี้หนูสด 140.77 RE )
พริกยังมีสารสำคัญอีก 2 ชนิด ได้แก่ Capsaicin และ Oleoresinโดยเฉพาะสาร Capsaicin ที่ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์รักษาโรค ในอเมริกามีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชื่อ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สาร Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งชนิดเป็นโลชั่นและครีม ( Thaxtra - P Capsaicin) แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย USFDA ได้กำหนดให้ใช้สาร capsaicin ได้ ที่ความเข้มข้น 0.75 % สำหรับเป็นยารักษาโรค

การนำไปใช้
1.แก้ปวดหัว ปวดหัวเนื่องมาจากไข้หวัด หรือตััวร้อน ใช้ใบพริกขี้ หนูสดๆ ตำกับดินสอพองปิดขมับ
2. แก้เจ็บคอเสียงแหบใช้น้ำต้มหรือยาชงพริกขี้หนูกลัวคอแก้เจ็บคอและเสียงแหบได้โดยใช้พริกขี้หนูป่น๑หยิบมือเติมน้ำเดือดลง ไป ๑ แก้ว ทิ้งไว้พออุ่น ใช้น้ำกลัวคอ
3. ช่วยขับลม  แก้อาหารไม่ย่อย เจริญอาหาร โดยกินพริกขี้หนูสวน รักษากระเพาะที่ไม่มีกำลังย่อยอาหาร
4.แก้ปลาดุกยักใช้พริกขี้หนูสดเขียวหรือแดงก็ได้ ขยี้ตรงที่ปลาดุก แทงจะหายปวด ขยี้แล้วจะรู้สึกเย็น(ธรรมดาพริกขี้หนูร้อน) ไม่บวมไม่ฟกช้ำด้วย
5.แก้เท้าแตกใช้พริกขี้หนูทั้ง ๕ ปูนขาว สื่งละพอควร เอาไปต้ม เอาน้ำมาแช่เท้าที่แตก ถ้าไม่หายเอาต้นสลัดได รากหนอนตากยากใส่ลงไปด้วย
6.แก้บวม  ใบพริกขี้หนู บดผสมนำ้มะนาว พอกบริเวณที่บวม
7. รักษาแผลสดและแผลเปื่อย  ใช้ใบพริกขี้หนู ตำพอกรักษาแผล
8.สดและแผลเปื่อย(อย่าใช้พริกขี้หนูปิดแผลมากเกินไปเพราะจะทำให้ร้อน
9.ใบเป็นอาหาร  ใบพริกขี้หนูมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เพราะมี ธาตุ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ไวาตามินเอ และบีอยู่มาก บำรุงกระดูก
10.บำรุง ประสาท
11.แก้พิษตะขาบและแมลงป่องกัด  ใช้พริกขี้หนููแห้ง ตำผงละลาย น้ำมาะนาว ทาแผลตะขาบกัด แมลงป่องต่อย หายเจ็บปวดดีนัก
12.มดคันไฟกัด   ใช้ใบหรือดอกพริกขี้หนูก้ได้ ถูบริเวณถูกกัด หายแล






ตะไคร้


             

      ตะไคร้ (Lemongrass) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Staph ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรย ,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
           ตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้
โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
  1. ตะไคร้กอ
  2. ตะไคร้ต้น
  3. ตะไคร้หางนาค
  4. ตะไคร้น้ำ
  5. ตะไคร้หางสิงห์
  6. ตะไคร้หอม
เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

สรรพคุณ

ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมากๆ
สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
 ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
 ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย

ขมิ้นชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์         Curcuma longa L.
ชื่อวงศ์                        ZINGIBERACEAE
ชื่อพ้อง                       Curcuma domestica
ชื่ออื่น ๆ                       ขมิ้น, ขมิ้นแกง, ขมิ้นชัน, ขมิ้น      
                                     หยอก,ขมิ้นหัว, ขี้มิ้น, ตายอ, หมิ้น      
                                     Tumeric,Curcuma,Yellow Root
ส่วนที่ใช้                      เหง้า
ลักษณะ                       ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรง กระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรง กันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่น เฉพาะ ใบเดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียง เป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12- 15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก  ช่อ แทง ออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้าน ใบ รูปทรง กระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวลบานครั้งละ 3-4 ดอก ผล  รูปกลมมี 3 พู
ประโยชน์ทางสมุนไพร        ตำรายาไทยใช้เหง้ารักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงผสมน้ำหรือเหง้าสด ฝนทาน้ำ มีรายงานว่าพบน้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดี จากการทดลองทารักษาโรคผิวหนังพุพองในเด็กพบว่าให้ผลเท่ายาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังใช้เหง้ารักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อและแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้ขนาด 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน ฤทธิ์แก้ท้องอืดน่าจะเกิดน้ำมันหอมระเหย ส่วนการเพิ่มน้ำย่อยและขับน้ำดีเกิดจาก ฤทธิ์ของ curcumin และ p-tolylcarbinol ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น อาการจุกเสียดลดลง curcumin ยังสามารถยับยั้งการเกิดก๊าซที่สร้างโดยเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย (Escherichia coli) แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเมือกในทางเดินอาหาร จึงใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่มีข้อควรระวังคือ curcumin ในขนาดที่สูงกว่าขนาดรักษา 2 เท่า ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

20 ก.ย. 2554

มะกรูด


มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)

การนำมาใช้
          การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบน้ำสระโดยตรง บ้างก็นำไปเผา หรือต้มก่อนสระ มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยประกอบในพิธีด้วย เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อการสระผมนั่นเอง และก็สามารถนำไปล้างพื้นได้ด้วย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกัน
น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ไม่ค่อยจะได้ประโยชน์กันมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะหาได้ยากกว่า และได้น้ำน้อยกว่า เพราะมะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกก็นิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้าย ขณะที่มะนาวหาได้ง่ายกว่า น้ำมากกว่า และรสชาติที่ถูกปากมากกว่า อย่างไรก็ตาม มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเช่นกัน
นอกจากนั้น ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้
สรรพคุณทางยา
            ขับลมแก้จุกเสียด แก้ลม บำรุงหัวใจ ใช้ผิวสดหั่นเป็นชิ้น ผสมการะบูรหนึ่งหยิบมือ ชงน้ำเดือด คนให้ละลาย ปิดฝาทิ้งไว้ 3 – 5 นาที ดื่มเอาแต่น้ำ ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดี
ยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ผลมะกรูดผ่าซีกเติมเกลือ ลนไฟให้เปลือกนิ่ม บีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ
เป็นยาสระผม หรืออาบ นำมะกรูดผ่าซีกลงในหม้อ ต้มอาบได้น้ำมันหอมระเหยอยู่บนผิว ทำให้ผิวไม่แห้ง และรสเปรี้ยวของมะกรูดช่วยให้อาบสะอาด นอกจากนี้ใช้มะกรูดผ่าซีกเอาน้ำมาสระผม

กระเทียม


             กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) เทียม (ใต้) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)
สรรพคุณทางยา
    1.รักษาโรคบิด
    2.ป้องกันมะเร็ง
    3.ระงับกลิ่นปาก
    4.ลดระดับไขมัน คอลเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด
    5.ขับพิษ และ สารอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
    6.มีกลิ่นที่ฉุนจึงสามารถไล่ยุงได้ดี
    7.ขับลม
การนำไปใช้ประโยชน์
     กระเทียมแก้ปวดฟัน
ก็ให้นำหัวกระเทียม 1 กลีบ ปอกเปลือกออกแล้วนำมาตำจนละเอียด ขณะที่ตำให้ใส่เหลือไปด้วยสักเล็กน้อย แล้วนำไปพอกหรืออุดไว้บริเวณฟันที่ปวด

รักษากลาก เกลื้อน
ก็ให้ใช้ใบมีดขูดผิวหนังบริเวณที่เป็นกลาก เกลื้อนจนมีเลือดซึมก่อน หลังจากนั้นให้นำหัวกระเทียม 1 กลีบ ปอกเปลือก แล้วใช้มีดตัดให้เป็นแว่น จากนั้นนำไปทาถูบริเวณผิวหนังที่เป็นกลาก เกลื้อน วันละ 2-3 ครั้ง ประมาณ 1 สัปดาห์ อาการจะดีขึ้นจนหายไป

แก้อาการจุดเสียดแน่นเฟ้อ
ก็นำหัวกระเทียม 5-7 กลีบ ปอกเปลือก นำมาตำให้ละเอียด แล้วเติมน้ำส้มสายชูลงไปประมาณ 30 ซีซี. หรือ 2 ช้อนโต๊ะ ปรุงรสด้วยน้ำตาลหรือเกลือเล็กน้อย เพื่อให้รับประทานง่าย ใช้รับประทานหลังอาหาร

บิด
ก็นำหัวกระเทียม 12-15 กลีบ ปอกเปลือก รับประทานดิบๆ วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารอาจใช้น้ำผึ้งหรือน้ำตาลอ้อย ช่วยกลบรสเผ็ดของกระเทียมก็ได้

รักษาแผลที่เน่าเปื่อยและเป็นหนอง
ให้นำหัวกระเทียม 1 หัว มาปอกเปลือกแล้วตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็นแผล โดยพอกทิ้งเอาไว้ประมาณ 30 นาที จึงเอาออกแล้วทำความสะอาดแผลหรือจะนำกระเทียมที่ตำแล้วไปแช่ในน้ำอุ่นและปิดฝาทิ้งเอาไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง จึงกรองเอาน้ำมาใช้ล้างแผล ก็ได้ผลดีเช่นกัน

ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิตหรือเพื่อรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจและสมองตีบตัน
ก็ให้กินกระเทียมสดครั้งละ 5 กรัม โดยสับหรือบดตวงได้ราว 1 ช้อนชาพูน กินพร้อมอาหารวันละ 3 เวลา อย่ากินกระเทียมตอนท้องว่าง เพราะจะระคายเคืองต่อกระเพาะ ลำไส้

ในกรณีต้องการกินเป็นประจำ เพื่อป้องกันเบาหวาน และขจัดพิษสารตะกั่ว
ให้ใช้กระเทียมกลีบใหญ่ ๆ เพียง 3 กลีบ ทุบให้แตก กลืนกับน้ำอุ่น 1 แก้ว ทุก ๆ เช้าหลังตื่นนอน น้ำอุ่นจะช่วยไม่ให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะ